วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่อง ปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรือง

โครงงานวิทยาศาสตร์
ประเภทโครงงานทดลอง
เรื่อง ปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรือง


จัดทำโดย

ด.ญ.ณัฐวดี คำหวาน เลขที่๗
ด.ญ.ชุติกาญจน์เกตษา เลขที่๔
ด.ญ.อารีรัตน์ ศรีเกตุ เลขที่๒๙



โรงเรียน ธัญรัตน์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต๔ปทุมธานี
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ว 22201 โครงงานวิทยาศาสตร์2
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2558



บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทโครงงานทดลอง เรื่องปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองที่ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยหมัก ความสำคัญของการทดลองปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองคือ เราอยากได้ปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อดอกและมีคุณสมบัติตามต้องการและไม่มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมวิธีการทดลองปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรือง ซึ่งมีขั้นตอนศึกษาค้นคว้าโดยหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตว่ามีปุ๋ยชนิดใดบาง เราจึงทำการทดลองปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรือง เพื่อที่จะได้ปุ๋ยที่ดีที่สุด






















กิตติกรรมประกาศ
                โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองเป็นโครงงานที่นักเรียนจัดทำศึกษาค้นคว้าข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ และได้นำความรู้ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงงานอย่างเหมาะสมโดยทำงานผ่านกระบวนการกลุ่มวิทยาศาสตร์ และโครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากขาดความสนับสนุนจากบุคคลหลายท่าน ผู้จัดทำโครงงานจึงใคร่ขอขอบคุณท่านต่างๆดังนี้
                ขอขอบคุณบิดามารดา ครอบครัวรวมถึงญาติๆทุกคนของผู้จัดทำโครงงานที่เป็นกำลังใจให้ตลอดเวลา สนับสนุนทางด้านค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงงานนี้คอยชี้แนะสิ่งต่างๆให้ผู้จัดทำได้ประสบความสำเร็จจนถึงวันทุกวันนี้
ขอขอบคุณ คุณครูขวัญชีวิต  นุชบัว ครูที่ปรึกษาในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ ตลอดจนคุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทุกท่านที่เอาใจใส่เป็นที่ปรึกษา และดูแลการทำงานของนักเรียนจนได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพนี้
คณะผู้จัดทำ


















บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมา
เนื่องจากในวันพระหรือวันสำคัญต่างๆดอกดาวเรืองไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย เราจึง พวกเราจึงทำการทดลองจากปุ๋ยต่างๆเพื่อเป็นทางเลือกในการปลูกดอกดาวเรืองให้มีผลผลิตที่มากพอและยังได้ปุ๋ยที่มีคุณสมบัติตามต้องการคือไม่มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมด้วย
วัตถุประสงค์
1. ต้องการศึกษาการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองที่ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยชีวภาพ                                 2. เพื่อลดปัญหาดอกดาวเรืองไม่พอจำหน่าย
สมมติฐาน
 ปุ๋ยชีวภาพน้ำหมักน้ำนมมีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองได้ดีที่สุด
ตัวแปรที่ศึกษาตัวแปรต้น: ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเคมีตัวแปรตาม:การเจริญเติบโตของดอกดาวเรือง(ขนาดดอก) ตัวแปรควบคุม: สถานที่ปลูก จำนวนปุ๋ยที่ให้ระยะเวลาของดอกดาวเรืองที่นำมาทดลองระยะเวลาในการปลูกโดยใช้ปุ๋ยต่างๆ
สถานที่    บ.99/217 ม.1 ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานีระยะเวลาเดือนธันวาคม 2557-เดือนมกราคม 2558
นิยามเฉพาะศัพท์
 ปุ๋ยจากธรรมชาติที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกดาวเรืองที่ดีที่สุด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 ดอกดาวเรืองมีความสวยงามและเพียงพอ ต่อการจำหน่ายและได้ใช้ปุ๋ยที่ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย









บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
อินเตอร์เน็ตกับงานวิจัยดอกดาวเรืองและคำแนะนำจากอาจารย์ขวัญชีวิต นุชบัว คือหลักการของการทดลองโครงการเรื่องปุ๋ยที่มีผลต่อดอกดาวเรือง



























บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
อุปกรณ์ทำปุ๋ย1.น้ำนมวัว  3 ส่วน2.กากน้ำตาล 1ส่วน           3.พด.61ซอง              4.ถังใส่ปุ๋ย
วิธีการทำปุ๋ย1.เทนมลงไปในถัง     จำนวน 3 ส่วน2.เทกากน้ำตาล         จำนวน1 ส่วน3.เทพด.6 จำนวน 1 ซอง 4.คนให้เข้ากัน หมักไว้เป็นเวลา 7 วัน
อุปกรณ์การทดลอง1.ต้นดาวเรือง 4ต้น2.ปุ๋ยทั้ง3ชนิด คือ ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ3.ดิน4.กระถางต้นไม้
วิธีการทดลองจากที่เราหมักปุ๋ยเป็นเวลา7วัน1.ซื้อต้นดาวเรืองที่มีอายุเท่ากัน2.ใส่ปุ๋ยเป็นเวลาทุกๆ7วันแล้วรดน้ำเช้าเย็น3.ถ่ายภาพบันทึกการเจริญเติบโตของต้นดาวเรืองแต่ละต้น บันทึกผลการทดลอง4.สรุปผลการทดลอง











บทที่ 4
ตารางผลการทดลอง
ต้นที่1 ปุ๋ยคอก
















ต้นที่ 2 ปุ๋ยเคมี














ต้นที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพ

















ต้นที่4 ต้นควบคุม







                                                                                                                                                                                 










ตารางสรุปผล









ชื่องานวิจัย  เรื่องที่1
การเปรียบเทียบปุ๋ยเกรด 15 – 15 – 15 ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง
พันธุ์ จาไมก้าโกลด์
ชื่อผู้วิจัย       นางสาวนิลยนาผาลัย
คณะ             เทคโนโลยีการเกษตรโปรแกรมเกษตรศาสตร์

            ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกกันมาก (สำนักพิมพ์คู่คิด, 2540) เนื่องจากปลูกง่ายโตเร็ว (สมนิตย์, 2546) ให้ดอกดก โดยไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากนัก  (บริษัทเอ เอฟเอ็ม, 2543)  ทั้งต้นก็แข็งแรง   ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน    (สำนักพิมพ์คู่คิด,   2540)   ดาวเรืองนั้นมีทั้งชนิดต้นสูง      และต้นเตี้ย จะปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ตัดดอกหรือไม้กระถางก็ได้ (นกเขาไฟ, 2531) เป็นพืชอายุ   สั้น (นิรนาม, 2537) ปลูกได้ตลอดปีสามารถให้ออกดอกตรงกับช่วงเทศกาลที่ต้องการจำหน่าย (สายชล, 2531) ซื้อง่ายขายคล่อง เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีของดอกคล้ายเบญจมาศ จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับเบญจมาศทุกประการ ทดแทนเบญจมาศได้ทุกประการ ทดแทนเบญจมาศได้ทุกกรณี     (สมเพียร, 2532) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดอกดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็นจึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟาเทอร์เธียนิล ซึ่งเป็นสารสามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี (วัลลภ, 2541) และเป็นพันธุ์ดอกไม้ที่มีความนิยมปลูกดูเล่นเป็นไม้ประดับอยู่โดยกว้างขวางทั่วโลก (วิชัย, 2532) ยังนำมาใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์     อุตสาหกรรมสกัดสี เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง เครื่องดื่มสุขภาพ และส่วนผสมของสารไล่แมลงหรือสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น (สุรพล, ม.ป.ป.)
            การปลูกดาวเรืองมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คุณภาพของดอกดาวเรืองแตกต่างกัน เช่นปุ๋ย นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของดาวเรืองเพราะคุณภาพของดินแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงได้ทำการทดลองศึกษาการใช้ปุ๋ยเกรด 15 – 15 – 15 ในอัตราที่ต่างกันกับดาวเรืองพันธุ์ จาไมก้าโกลด์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจในการที่จะปลูกดาวเรืองอย่างจริงจังในครั้งต่อไป

ชนิดของดาวเรือง
   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

   1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทาง
ตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
     พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
      พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
      พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น

   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds)
 ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้นเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีก้านดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่
    พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรดมาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
   พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
   3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Marigldsหรือ Afro American Marigolds) เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลูกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องจากเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ

การปลูกดาวเรือง
  1.    ไถเตรียมดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน
    2.    ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1    ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
    3.    นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
    4.    หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค
    5.    เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน  โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย
    6.    ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่ จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้ แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่ ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง
    7.    หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว  เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่
    8.    หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้ ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้น











งานวิจัย เรื่องที่ 2
ชื่อเรื่อง :อิทธิพลของการขาดน้ำที่มีต่อผลผลิตของดาวเรือง
โดย : นางสาว ธนาพร มัชฉาเมฆ
 นางสาว สุภางค์ ภู่ชัย
โครงงานวิศวกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความต้องการใช้น้้าและ ผลของการ
จ้ากัดการให้น้้าที่มีผลต่อผลผลิตของดาวเรือง ที่ปลูกเป็นไม้กระถางระหว่างเดือนตุลาคม 2552ถึง
เดือนมกราคม 2553 ณ ฟาร์มมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก้าแพงแสน จังหวัดนครปฐ ม
แบ่งระยะการเจริญเติบโตออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเด็ดยอด ระยะการเจริญเติบโต ระยะออกดอก
และระยะดอกโรย ค้านวณปริมาณความต้องการ ใช้น้้าของพืชในแต่ละวันจากผลต่างของน้้าหนัก
จากการชั่งน้้าหนักกระถางก่อนและหลังรดน้้าทุกวัน พบว่า ปริมาณความต้อง การใช้น้้าของ
ดาวเรืองแปรผันตามระยะเวลาการเจริญเติบโต โดยในแต่ละระยะการเจริญเติบโต กรณีปลูกในดิน
ร่วนปนทรายมีปริมาณความต้องการใช้น้้าเ ท่ากับ 11.34
, 14.50, 16.76, 15.61 มิลลิเมตรตามล้าดับ
และกรณีปลูกในของดินเหนียว เท่ากับ 12.42
, 15.38, 16.69, 15.80 มิลลิเมตรตามล้าดับ
ตารางที่ ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ฝรั่งเศษ
ผลผลิต จำนวน (ดอก) ขนาด (cm)
ดินร่วนปนทราย
ให้น้ำทุกวัน มีการเด็ดยอด 10 6.8
ให้น้ำทุกวันไม่มีการเด็ดยอด 9 6.5
ให้น้ำทุกวันมีพลาสติกคลุมถหน้าดิน 5 5.0
จำกัดการให้น้ำช่วงที่ 1 (ระยะเด็ดยอด) 10 6.9
จำกัดการให้น้ำช่วงที่ 2 (ระยะการเจริญเติบโต) 8 6.4
จำกัดการให้น้ำช่วงที่ 3 (ระยะออกดอก)8 6.4
ดินเหนียว
ให้น้ำทุกวัน มีการเด็ดยอด 12 6.9
ให้น้ำทุกวันไม่มีการเด็ดยอด 10 7.4
ให้น้ำทุกวันมีพลาสติกคลุมหน้าดิน 6 4.9
จำกัดการให้น้ำช่วงที่ 1 (ระยะเด็ดยอด) 9 6.9
จำกัดการให้น้ำช่วงที่ 2 (ระยะการเจริญเติบโต) 9 6.2
จำกัดการให้น้ำช่วงที่ 3 (ระยะออกดอก) 8 6.2


จากการทดลองพบว่า
1.ค่าปริมาณความต้องการใช้น้ำ (การคายระเหยรวมน้ำระบาย) ของดาวเรืองพันธุ์บาบูด้า
ทุกกรณีจะสูงกว่าการใช้น้ำของพืชอ้างอิง เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้น้ำของดาวเรืองเป็น
ปริมาณการใช้น้ำซึ่งรวมน้ำระบายด้วย
2.กรณีการให้น้ำทุกวันมีการเด็ดยอดในช่วงของการเจริญเต็มโตที่ ปริมาณความต้องการ
ใช้น้ำของดาวเรืองกรณีกระถางที่ปลูกในดินเหนียวจะสูงกว่าที่ปลูกในดินร่วนปนทราย ในขณะที่
กรณีจำกัดการให้น้ำ กรณีกระถางที่ปลูกในดินร่วนปนทรายจะมีปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงกว่า
ที่ปลูกในดินเหนียว
3. ปริมาณความต้องการน้ำของดาวเรืองที่เด็ดยอดกรณีปลูกในดินร่วนปนทรายใกล้เคียง
กับปริมาณความต้องการน้ำของดาวเรืองที่ไม่เด็ดยอด แต่กรณีที่ปลูกในดินเหนียวปริมาณความ
ต้องการน้ำของดาวเรืองที่จะเด็ดยอดจะมากกว่าปริมาณความต้องการน้ำของดาวเรืองที่ไม่เด็ดยอด
4. ปริมาณความต้องการน้ำของดาวเรือง กรณีมีพลาสติกคลุมหน้าดินกระถางที่ปลูกในดิน
ร่วนปนทรายจะใกล้เคียงกับที่ปลูกในดินเหนียว แต่มีปริมาณความต้องการน้ำน้อยกว่ากรณีไม่มี
พลาสติกคลุม เนื่องจากกรณีมีพลาสติกคลุมเป็นปริมาณการคายน้ำรวมกับน้ำระบาย ส่วนกรณีไม่มี
พลาสติกคลุมเป็นปริมาณการคายระเหยรวมกับน้ำระบาย
5.จำนวนผลผลิตของดาวเรืองกรณีให้น้ำทุกวันมีการเด็ดยอด ปลูกในดินเหนียวจะมี
จำนวนมากกว่ากรณีปลูกในดินร่วนปนทราย ส่วนกรณีจำกัดการให้น้ำ กรณีปลูกในดินร่วนปน
ทรายใกล้เคียงกับกรณีปลูกในดินเหนียว สำหรับกรณีเด็ดยอดจะให้ผลผลิตมากกว่ากรณีเด็ดยอด
และกรณีมีพลาสติกคลุมหน้าดินจะให้ผลผลิตน้อยกว่ากรณีไม่มีพลาสติกคลุมหน้าดินถึงสองเท่า